รฟม.ลงพื้นที่ภูเก็ต จัดประชุม โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หรือ รถไฟฟ้ารางเบา คาดเริ่มดำเนินการได้ ปี 2566

[vc_row][vc_column][vc_message]

รฟม.ลงพื้นที่ภูเก็ต จัดประชุม โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หรือ รถไฟฟ้ารางเบา คาดเริ่มดำเนินการได้ ปี 2566

[/vc_message][vc_column_text]เวลา 09.30 น. วันนี้ (24 ส.ค.63) ที่ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมรอยัลภูเก็ตซิตี้ นายวงศกร นุ่นชูคันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตพร้อมด้วยนายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็น โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หรือรถไฟฟ้ารางเบา (LRT/Tram) ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตถึงห้าแยกฉลอง โดย มีประชาชนจากหลายภาคส่วนทั้งราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และพี่น้องประชาชนที่สนใจเข้าร่วมรับฟัง เป็นจำนวนมาก

ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและรับฟังข้อมูลข้อคิดเห็นรวมถึงข้อเสนอแนะจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตโดยมีตัวแทนภาครัฐภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ที่สนใจในจังหวัดภูเก็ต เพื่อนำข้อมูลที่ ได้รับ ในเวทีการประชุมครั้งนี้ไปใช้เป็นข้อมูลประกอบในการดำเนินโครงการโดยรูปแบบของโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต นั้น ถูกออกแบบให้เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือ LRT/Tram โดยแบ่งดำเนินการออกเป็น 2 ระยะคือระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตถึงห้าแยกฉลองระยะทาง 42 กิโลเมตรมีจำนวนสถานีทั้งหมด 21 สถานีแบ่งเป็นสถานีระดับพื้นดิน 19 สถานีสถานียกระดับ 1 สถานีสถานีใต้ดินสถานีและระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่นถึงเมืองใหม่ มีระยะทาง 16.5 กิโลเมตร ซึ่ง รฟม. (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) จะดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ก่อนโดยมีกรอบวงเงินลงทุนโครงการเบื้องต้นประมาณ 35,201. ล้านบาท มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารสูงสุดประมาณ 35 – 140 บาท /เที่ยว ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ตระยะที่ 1 ให้ผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ประมาณร้อยละ 13.11
ทั้งนี้ที่ผ่านมาสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.กระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบแล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงได้ดำเนินการจัดการประชุมการมีส่วนร่วมของประชาชนแล้วทั้งสิ้น 4 ครั้ง ก่อนที่กระทรวงคมนาคมจะมอบหมายให้รฟม.เป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการต่อไป

โดยที่ผ่านมา รฟม.ได้ดำเนินการจัดงานสัมมนาทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือ market sounding จำนวน 2 ครั้งในกรุงเทพฯและที่จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งได้ทบทวนผลการศึกษาเดิมของ สนข. และหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงรูปแบบโครงการให้ เป็นปัจจุบันด้วย

หลังจากนี้ทาง รฟม. จะนำข้อมูลและข้อคิดเห็นจากการประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ไปประกอบการเสนอเห็นชอบหลักการและผลการศึกษาวิเคราะห์โครงการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ. ศ. 2562 โดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบราวกลางปี พ.ศ.2564 รวมถึงประกาศเชิญชวนประชาชนร่วมลงทุนภายในปี พ.ศ.2565 เพื่อเริ่มดำเนินการก่อสร้าง ในปี พ.ศ.2566 คาดว่าโครงการจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2569

ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็น จากผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนที่สนใจ ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต (รถไฟฟ้ารางเบา) เป็นอีกหนึ่งความหวังของชาวภูเก็ต และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยในภูมิภาค จะเป็น ภูเก็ตโมเดล ขอให้เร่งดำเนินการโดยเร็ว ในส่วนของการออกแบบ ต้องการให้มีการออกแบบที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของคนภูเก็ต เพิ่มสถานีย่อยให้มากขึ้นโดยเฉพาะจุดบริเวณ ถนน 402 ถลาง ผ่าน เคหะ ที่มีชุมชนมีโครงการหมู่บ้านต่างๆเกิดขึ้น มาก ควรจะมีการจัดตั๋วโปรโมชั่นเพื่อสร้าง แรงจูงใจให้พี่น้องประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ารางเบาให้มากขึ้นลดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นบนท้องถนน อีกทั้งการออกแบบรถไฟฟ้ารางเบาควรจะมีพื้นที่สำหรับจัดเก็บสัมภาระของนักท่องเที่ยวด้วย และ ควรมีการสื่อสารให้ข้อมูลความคืบหน้า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ให้พี่น้องประชาชนชาวภูเก็ตได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง…..สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดภูเก็ต ภาพ /ข่าว[/vc_column_text][vc_single_image image=”47062″ img_size=”full” alignment=”center”][/vc_column][/vc_row]