ดีแทค เน็ตทำกิน คัดสรรของขวัญปีใหม่สุดพิเศษส่งท้ายปี เป็นฝีมือจากใจผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ นำเสนอผ่านลายเส้นแห่งจินตนาการของ Painterbell
ดีแทค เน็ตทำกิน คัดสรรของขวัญปีใหม่สุดพิเศษส่งท้ายปี เป็นฝีมือจากใจผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+ นำเสนอผ่านลายเส้นแห่งจินตนาการของ Painterbell
21 ธันวาคม 2564 – ดีแทค ผนึก Painterbell สรรค์สร้างคาแรกเตอร์ผู้ประกอบการวัยเก๋าที่เปี่ยมไปด้วยความสดใสและรอยยิ้ม พร้อมทั้งนำเสนอสินค้า 14 แบรนด์ ของผู้ประกอบการทั่วประเทศที่ได้ร่วมติดอาวุธทักษะดิจิทัล และเพิ่มพูนทักษะการตลาดออนไลน์กับโครงการดีแทค เน็ตทำกิน “ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+” โดยใช้เส้นทางทำกินบนโลกโซเชียลค้นหาเป้าประสงค์ใหม่ของชีวิต สร้างแรงบันดาลใจ และส่งต่อสินค้าที่ลงมือทำด้วยความรัก มอบให้เป็นของขวัญชิ้นพิเศษในช่วงเทศกาลปีใหม่ ผ่านแคมเปญ #ช้อปเรียกยิ้ม ที่สามารถช้อปได้ทุกวันที่หน้าเพจเฟซบุ๊ก ดีแทค เน็ตทำกิน
ดีแทค เน็ตทำกิน x Painterbell แนะนำของกิน ของใช้ ท้องถิ่นที่เปี่ยมไปด้วยดีไซน์ 14 แบรนด์ เพื่อเป็นไอเดียส่งต่อของขวัญในเทศกาลขึ้นปีใหม่ ไปชมกันเลย..
เริ่มต้นกันด้วย ถุงย่ามและของที่ระลึกที่เกิดจากการนำงานหัตถศิลป์ไทยและผ้าพื้นบ้าน “YaiSiRi” ที่ผสมผสานงานตัดเย็บถุงย่ามที่มีความร่วมสมัย โดดเด่น พร้อมแฝงกลิ่นอายแห่งความสุขที่กำลังมาทั้งเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ ของ “อาจารย์หน่อง” สิริปตี พุ่มจันทร์ ที่เทิร์นโปรและพาถุงย่ามร่วมสมัยบุกตลาดออนไลน์ครั้งแรกในวัย 52 ปี โดยอีกหนึ่งความพิเศษของผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ YaiSiRi ที่นอกเหนือจากจะมีดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยังถูกผลิตโดยผู้พิการทางสายตาอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีสินค้าน่ารักๆ ให้เลือกอุดหนุนอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น พวงกุญแจ หรือเคสโทรศัพท์มือถือที่ทำจากเศษผ้าที่เหลือจากการตัดเย็บ เพื่อเป็นการช่วยลดขยะไปในตัว
เลือกช้อปถุงย่ามดีไซน์ Festive ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก Yaisiri : https://www.facebook.com/Yaisiri-414411755951110
ไปต่อกันที่ผ้าบาติกคุณภาพเยี่ยม “ภูเก็ต บาติก” ที่เปิดมายาวนานกว่า 40 ปี โดยมี “พี่ปิ๋ว” พัชรี แสงจันทร์ อดีตครูผู้มีใจรักและหลงใหลในงานศิลปะที่หันมาผลิตผ้าบาติก และถ่ายทอดเทคนิคการทำผ้าบาติกให้กับคนในชุมชน ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจพี่ปิ๋วเล่าให้ฟังว่าหลังจากที่คนในชุมชนได้มาเรียนรู้เทคนิคกับตนแล้ว คนในชุมชนประสบปัญหาที่ไม่รู้จะนำสินค้าไปวางขายที่ไหน “ภูเก็ตบาติก” จึงเป็นสถานที่ที่ได้รวบรวมสินค้าที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชนและเกิดเป็นโรงงานผ้าบาติก
ทุกวันนี้ภูเก็ต บาติก ได้สร้างตัวตนบนโลกออนไลน์เป็นที่เรียบร้อย นำทีมโดย “พี่ปิ๋ว” พัชรี แสงจันทร์ อายุ 62 ปี ที่ต้องการเชื่อมโยงศิลปะและคุณค่าที่มีผลต่อจิตใจของชุมชน ให้ทุกคนได้เลือกซื้อเป็นของฝากในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยผลิตภัณฑ์จากผ้าบาติกมีทั้งเสื้อ กระโปรง และกางเกง ส่วนลวดลายมีแบบดั้งเดิมและแบบกราฟฟิตี้ หรือจะสั่งลวดลายตามใจคนซื้อก็ได้ สนใจผ้าบาติกเก๋ ๆ เป็นของขวัญให้ตัวเอง หรือญาติมิตร
อยากได้ผ้าบาติกแบบไหน ไปเลือกช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก Phuket Batik – ภูเก็ตบาติก : https://www.facebook.com/phuketbatiksamkong
ตามมาด้วยกระเป๋าดีไซน์เก๋ ที่สาย Eco ต้องไม่พลาด “กระเป๋ากระจูด” จากร้านของ “ครูบี” สุธาสินี ทรัพย์วงศ์ อายุ 64 ปี ที่พัฒนากระเป๋ากระจูดให้มีความสวยงามและโดดเด่น ด้วยการตกแต่งให้แตกต่างกัน ทำให้กระเป๋ากระจูดบางใบมีใบเดียวเพราะออกแบบไม่ซ้ำกัน โดยมีคนหนุ่มสาวเข้ามาช่วยออกแบบนำงาน DIY เดคูพาจ งานปักไหมพรหม เข้ามาต่อยอด ซึ่งยึดหลักไม่ทำลายความงามของกระจูด ที่สำคัญราคาไม่แพง คุณภาพดีใช้ได้นาน ไม่ใช้แลคเกอร์ในการเคลือบตัวเส้นกระจูด ทำให้กระจูดไม่แข็งสามารถดัดทรงได้
อยากหิ้วกระเป๋ากระจูดเท่ ๆ เก๋ ๆ เลือกช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก จิปาถะหัตถกรรมครูบี : https://www.facebook.com/Jipatha.krubee
มาต่อกันที่สินค้าโอทอประดับ 5 ดาว ของจังหวัดสกลนคร “ผ้าย้อมครามบ้านถ้ำเต่า” ที่โดดเด่นทั้งกรรมวิธีและลวดลายผ้า จากภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาของบรรพบุรุษ ที่สำคัญสีครามที่ได้มาจากแหล่งปลูกต้นครามและผลิตน้ำครามมากที่สุดในประเทศ โดยได้ส่งออกน้ำครามให้กับหลายจังหวัด ผลิตภัณฑ์ของ “พี่อ้อย” อรุณภัสร์ รัตนอนินท์ภรณ์ ผู้ประกอบการวัยเก๋าที่บุกตลาดออนไลน์ครั้งแรกกับดีแทค เน็ตทำกินในวัย 51 ปี
อยากได้ผ้าย้อมครามสวย ๆ เลือกช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก แม่อุไร – Mae Urai : https://www.facebook.com/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%84%E0%B8%A3-Mae-Urai-103175051055213
ใครชอบเสื้อผ้าสไตล์ชนเผ่า ขอแนะนำร้าน “สีสันพันเผ่า”ของ “พี่ปอม” อาภา หน่อตา อายุ 51 ปี หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+” ซึ่งเสื้อผ้าที่ผลิตจากคนในชุมชนที่เป็นสมาชิกศูนย์การเรียนรู้และพัฒนาสินค้าผลิตภัณฑ์สตรีนานาชาติพันธุ์ โดยเสื้อผ้าจะมีกลิ่นอายของความเป็นชาติพันธุ์กว่า4 เผ่า ได้แก่ ม้ง กะเหรี่ยง อาข่า เมี่ยน นอกจากนี้ยังรับผ้าปักลายพื้นเมืองจากชุมชนชาติพันธุ์มาสร้างเป็นเสื้อผ้าสวย ๆ อีกด้วย
อยากใส่เสื้อผ้าชนเผ่าเกร๋ ๆ ช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก สีสันพันเผ่า เสื้อผ้าชนเผ่า ชาวไทยภูเขา : https://www.facebook.com/1000pao
หากมองหาหมวกสักใบไว้ใส่เก๋ ๆ แถมถ่ายรูปอัพสตอรี่ก็สวย เท่ แนะนำ “กุ๊บลอน” หรือ “หมวกสานไผ่เย็บใบลานของคนเมืองแพร่” ซึ่งถือเป็นแหล่งผลิตหนึ่งเดียวในประเทศไทยจากวิสาหกิจชุมชนสืบสานกุ๊บลอน-ดินกี่” บ้านนาแหลม จังหวัดแพร่ และที่นี่มีมือหนึ่งในการสานชื่อ “ยายจิ๊บ แสนอุ้ม” ผู้มีประสบการณ์สานกุ๊บลอนมากกว่า 20 ปี เรียกว่าใครมาที่นี่ต้องขอลายเซ็นเพื่อการันตีว่ามาถึงจริง “พี่กาญจน์” นวพร ใจจันทร์ อายุ 52 ปี หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+” บอกว่า ความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้จะนำไปพัฒนาต่อยอดช่วยให้กับชุมชน
อยากสวย เท่ และมีภาพใส่กุ๊บลอน ช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก ฮ่มไม้บ้านดิน : https://www.facebook.com/BaandinNalaemPhrae/
หากมองหา “เสื้อผ้ามุสลิม” ที่มั่นใจว่าสวมใส่แล้วถูกต้องตามหลักศาสนา คุณภาพดี ราคาเหมาะสม แนะนำร้าน “พี่เซาดะห์ เสื้อผ้ามุสลิม by ครูสมจิต” สมจิต ซอหะซัน อายุ 65 ปี ซึ่งมีความพิเศษคือ ลูกค้าสามารถเลือก Mix & Match ชุดได้ครบ มีให้เลือกหลายสี หลายแบบ เหมาะทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม เรียกว่า สั่งซื้อแล้วได้ของตรงปกไม่จกตา จะซื้อใส่เองหรือสั่งไปขายก็ได้ทั้งนั้น
อยากใส่เสื้อผ้ามุสลิม ช้อปได้ที่เพจเฟซบุ๊ก ร้านเสื้อผ้ามุสลิม by ครูสมจิต : https://www.facebook.com/somjitmuslimshop/
ไปต่อกันที่ลูกประคบเซรามิคสุดเก๋ “อิสิปันน์” (ISIPAN) ผลิตภัณฑ์รักษ์โลกใช้ซ้ำได้มากกว่า 100 ครั้ง ของ “พี่หริ” ศดิพร ปัญญาโชคชัย ผู้ประกอบการวัยเก๋าที่บุกตลาดออนไลน์ครั้งแรกในวัย 65 ปี หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ “ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+” ที่สำคัญลูกประคบแต่ละส่วนมาจากฝีมือคนในชุมชนทั้งสิ้น ตั้งแต่ตัวประคบจากชาวบ้านที่ปั้นดินเผา เกลือสมุนไพรต่าง ๆ มาจากกลุ่มแม่บ้านในชุมชน โดยข้อดีของลูกประคบเซรามิคคือการลดขยะ และใช้ประคบได้ทั้งแบบร้อนและเย็น
อยากประคบแก้ปวดเมื่อยหรือเพื่อผ่อนคลาย ช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก อิสิปันน์ลูกประคบเซรามิกส์ : https://www.facebook.com/IsipanBestReviveRelaxCeramicHerbHotCompressPottery
ถึงคิวอาหารคลีน ฟีลกู๊ด ที่ทำให้ร่างกายเฮลตี้และแฮปปี้ โดย “Good Mood อาหารคลีนฟีลกู๊ด” บอกเลย “Good Mood” กินแล้วอารมณ์ดี๊ดี…ฟีลกู๊ด... เพราะเป็นอาหารตามสั่งที่ทำตามใจคนกิน ของ “พี่หนิง” ณัฐสุดา ศรีสวัสดิ์ อายุ 60 ปี หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+” โครงการผู้สูงวัยใจเพชร ที่มาพร้อมคอนเซ็ป อาหารตามใจลูกค้า เนื่องจากลูกค้ามีความหลากหลายทางสุขภาพ บางคนเป็นคนป่วย บางคนต้องการดูแลสุขภาพแต่ละด้านแตกต่างกัน จึงทำอาหารกล่องที่ลูกค้าเลือกเองและกินได้ทั้งหมด ที่สำคัญรสชาติอร่อย กินแล้วมีความสุข
อยากกินอาหารคลีนที่ให้ความรู้สึกดีฟีลกู๊ด ช้อปเลยที่เพจเฟซบุ๊ก Good Mood : https://facebook.com/GoodmoodHeartmate/
ต่อด้วย “กะปิคีโต” สำหรับสายคลีน จัดไปกับ “กะปิคีโต” ผลิตภัณฑ์ที่คิดขึ้นจากประการณ์จริงของ คุณสุรีย์ นาคนิยม อายุ 64 ปี ซึ่งมีญาติป่วยเป็นโรคไตและอยากกินอาหารที่ปรุงด้วยกะปิ จึงเป็นที่มาของกะปิคีโตที่ใช้เฉพาะตัวกุ้งเคยและเกลือสีชมพูมีแร่ธาตุสูงกว่าเกลือธรรมดามากกว่า 20 ชนิด ทำให้ดีต่อสุขภาพของทุกคน เรียกว่าผู้ป่วย คนรักสุขภาพ และผู้สูงอายุ กินได้แบบสบายใจ และนี่คือผลิตภัณฑ์ของหนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรมโครงการ “ดีแทค เน็ตทำกิน ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+”
อยากแซ่บกับเมนูเด็ด ๆ ที่ปรุงด้วยกะปิสายคลีน ช้อปเลย “กะปิคีโต” ที่เพจเฟซบุ๊ก ร้านอาหารทะเลแปรรูป by ครูซันนี่ : https://www.facebook.com/krusunny0910343501/
คอกาแฟพลาดไม่ได้ต้องลอง ! “อาราบิก้าเทพเสด็จ” จาก ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ผลิตภัณฑ์กาแฟของ “พี่อู๊ด” สุเมธ ตามตระกูล อายุ 63 ปี หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรม “ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+” ซึ่งบอกว่า เป็นกาแฟที่ปลูกบนดอยสูง ระดับ 900-1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลและปลูกอยู่ใต้ต้นไม้ป่าที่เรียกว่า ต้นก่อ ผลและรสชาติมีลักษณะคล้ายกับเกาลัด นอกจากนั้นชาวบ้านยังนิยมเลี้ยงผึ้งในท่อนไม้โดยนำไปวางใต้ต้นก่อ ทำให้ผึ้งมีแหล่งอาหารสองที่คือดอกก่อและดอกกาแฟ ดังนั้นกาแฟเทพเสด็จจึงมีเอกลักษณ์พิเศษคือมีกลิ่นดอกไม้ป่าและมีรสชาติเข้มเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป
อยากลิ้มลองกาแฟคั่วอาราบิก้าเทพเสด็จ ช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก ลุงอู๊ด คนคั่วกาแฟ : https://www.facebook.com/aoody0703
ถึงคิวของเมนูโบราณ หาทานยาก “หมูคั่วปลาอินทรีย์-หมูคั่วปลากุเลา” เมนูโบราณ หากินยาก ของ “พี่ปาน” ปาลิตา วัฒกวณิชย์ ผู้ประกอบการจากจังหวัดชลบุรี ที่บุกตลาดออนไลน์ครั้งแรกในชีวิตในวัย 51 ปี ที่มีความตั้งใจส่งต่อเมนูพื้นบ้านของเทศบาลนครแหลมฉบัง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ให้ชาวเน็ตได้ทำความรู้จักและลิ้มรสความอร่อย
กระซิบเคล็ดลับการกินให้ฟิน! ตักหมูคั่วปลาอินทรีย์หรือหมูคั่วปลากุเลาวางใส่จาน ตามด้วยหอมแดง พริกซอย แล้วบีบมะนาวลงไป กินพร้อมข้าวสวยหรือข้าวต้มร้อน ๆ รับรองพุงกางแน่นอน
อยากกินอะไรไปเลือกช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก Lita Homemade : https://www.facebook.com/Litahomemade
“รสา เค้กนมสด” ขนมอร่อยแห่งขอนแก่น ที่ขายมายาวนานกว่า 20 ปี ของ “พี่รสา” อรสา รุ่งเรืองวงศ์ อายุ 63 ปี ที่การันตีด้วยการบอกปากต่อปากของคนพื้นที่ หนึ่งในผู้เข้าร่วมอบรม “ภารกิจปั้นผู้ประกอบการวัยเก๋า 50+” สำหรับขนมของ “รสา เค้กนมสด” มีหลากหลายชนิด ทั้งเค้ก ขนมเนื้อนวล ขนมหน้าเนียน ขนมหม้อแกงเผือก และขาไก่รสชีส เป็นต้น โดยความอร่อยฟินทุกคำมาจากการใช้วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ ทำให้กินคำไหนอร่อยคำนั้น และเพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการลิ้มรสขนมอร่อย ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนไม่ใช่ปัญหาตามไปสั่งได้ที่เพจเฟซบุ๊กเลย
อยากกินขนมอร่อยฟินแห่งขอนแก่น เลือกช้อปกันได้ที่เพจเฟซบุ๊ก รสา เค้กนมสด : https://www.facebook.com/orsabakery
ปิดท้ายด้วย “โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้” คิดถึงม้าไม้ คิดถึงของเล่นวัยเด็ก คิดถึง…ก็ต้องไปให้ถึง “โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้” พี่ปุ๊ วีรวัฒน์ กังวานนวกุล คณะผู้ก่อตั้งบอกว่า “พิพิธภัณฑ์เล่นได้” เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ผ่านของเล่นที่ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ และของเล่นพื้นบ้านที่ผลิตโดยผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ไฮไลท์ของที่นี่ คือ “สร้างพื้นที่เล่น รักษาของเล่นเก่า และพัฒนาของใหม่” ซึ่งมีทีมงานรุ่นใหม่ชื่อ “young maker” นำความรู้ด้านการประดิษฐ์และงานกลไกที่น่าสนใจมาพัฒนาต่อยอด ทำให้ของเล่นที่คุ้นเคยแบบเดิมมีชีวิตชีวา และตื่นตาตื่นใจมากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้ของเล่นอยู่ได้ยั่งยืน ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมเวิร์คช้อปผ่านการเล่น และการประดิษฐ์ของเล่น
อยากตามไปหาของเล่นที่คิดถึงดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก โรงเล่น พิพิธภัณฑ์เล่นได้ : https://www.facebook.com/PlayableMuseum/