PTA-TAT Asean Market Outlook Series 2019 and Quality Tourism Strategies Workshop

สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตจัด PTA-TAT Asean Market Outlook Series 2019

นายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัด PTA-TAT Asean Market Outlook Series 2019 ในหัวข้อ Emerging Market of Vietnam and Combodia โดยคุณนภัสสร ค้าขาย ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานโฮจิมินส์ เวียดนาม และคุณพชร ตั้นสกุล เจ้าหน้าที่อาสุโสฝ่ายขาย บริษัท ไทยแอร์เอเซีย จำกัด เป็นวิทยากร เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2562 ณ โรงแรมดารา โดยมีผู้ประกอบการเข้ารับฟังกว่า 120 ท่าน

พร้อมกันนั้นในวันเดียวกันทางสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตจัด Quality Tourism Strategies Workshop

วันที่ 19 เมษายน 2562 ณ โรงแรมดารา จังหวัดภูเก็ต สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ตได้ริเริ่มแนวคิดในการสร้างยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) และได้เริ่มทำในหลายด้าน ร่วมกับองค์กรเอกชนทั้งด้านการท่องเที่ยว และที่เกี่ยวข้อง โดยมีนางศิรวี วาเล๊าะ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดภูเก็ต นางกนกกิตติกา กฤตย์วุฒิกร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต นายก้องศักดิ์ คู่พงศกร นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ นางสาวนันทิดา อติเศรษฐ์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา นางสาวเชิญพร กาญจนสาย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดภูเก็ต และผู้ทรงเกียรติสาขาต่างๆ เข้าร่วมการระดมสมองในครั้งนี้ โดยมีนายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต และนายสรายุทธ มัลลัม ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต ให้การต้อนรับ และสรุปยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ พร้อมแนวทางการดำเนินการในอนาคต

โจทย์คือ การสร้างความยั่งยืนและสมดุล สร้างภูเก็ตให้เป็น happiness for all, ที่ทั้งนักท่องเที่ยว และผู้อยู่อาศัยบนเกาะจะต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีชีวิตที่มีความสุข และเติบโตอย่างยั่งยืนสืบไป

ในเชิงเศรษฐกิจ ภูเก็ตมีการท่องเที่ยวเป็นเส้นเลือดใหญ่ และเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่สร้างการหมุนเวียนของเศรษฐกิจให้กับทุกภาคส่วนธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่ สูตรคำนวณเชิงเศรษฐศาสตร์ของการท่องเที่ยวที่ผ่านมาคือ

E = N × AL × AS

E: economic circulation, การหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ

N: Number of Tourist Arrival, จำนวนนักท่องเที่ยว

AL: Average Length of Stay, ระยะเวลาพำนักเฉลี่ย

AS: Average Spedning Per Day, ปริมาณการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวัน

ปัจจุบันภูเก็ตสร้างการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวประมาณ 400,000 ล้านบาท จากจำนวนนักท่องเที่ยว 15 ล้านคน โดยแบ่งเป็น นทท. ชาวไทย 4 ล้าน และ นทท. ชาวต่างประเทศประมาณ 11 ล้านคน มีระยะการพำนักเฉลี่ยที 4.7 วันต่อ และมีการใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 4,850 บาท ต่อคนต่อวัน

คำถามแรกๆ คือ หากเราจะเพิ่มการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้นปีละ 7-8% โดยมีเงื่อนไขว่า เราจะให้เกาะภูเก็ตเป็นเกาะแห่งความสุขและยั่งยืน การเพิ่มแต่จำนวนนักท่องเที่ยวย่อมไม่ใช่ทางออกที่ดี

และหากเราจะคงจำนวนนักท่องเที่ยวที่ 15 ล้านคน หรือให้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สาธารณูปโภคหลักเช่นไฟฟ้า ประปา และระบบคมนาคม สร้างทันอย่างเพียงพอ และตอบโจทย์เรื่อง “ความสุข” อันเป็นที่มาจาก “ความสะอาด” และ “ความสะดวก”
เราจะทำอย่างไร?

โดยแบ่งกลุ่มระดมสมองออกเป็น 5 กลุ่ม และสรุปดังนี้


กลุ่ม 1 การเพิ่ม tourist destination โดยเน้นการเข้าถึงและเชื่อมต่อกับแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่แล้ว โดยให้ความสำคัญกับแหล่งท่องเที่ยวชุมชน และธรรมชาติ มี 3 ยุทธศาสตร์
1.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ
1.1 บริหารจัดการข้อมูล
-การแปรรูปข้อมูลให้เป็นดิจิตอล (Data Digitzed) คือการแปรรูปข้อมูลบนกระดาษ ให้เป็นข้อมูลบนดิจิตอล เพื่อรองรับการใช้งานในอนาคต
-การติดตั้งข้อมูลดิจิตอล ที่แปรรูปแล้ว ในแพลตฟอร์มของกลุ่มเป้าหมาย ในรูปแบบภาพนิ่ง/ข้อความ/คลิปวีดีโอ
1.2 บริหารจัดการสถานที่เวลา
แหล่งท่องเที่ยวชุมนุมควรบริหารเวลาไม่ให้มีความเลื่อมล้ำกัน ควรเปิดปิด โดยใช้เงื่อนเวลากำกับเพื่อ สะดวกต่อการทำการคลาดและที่สำคัญควรมีความเสถียรในการปฏิบัติงาน
2.ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการตลาด
-นำแหล่งท่องเที่ยวชุมชนที่มีอยู่แล้วไปผูกเรื่องเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวหลัก เช่น ผูกชุมชนเรือกอจ๊านกับเมืองเก่า, ผูกแหลม พรหมเทพกับบางคณที, ผูกอ่าวปอแกรนด์มารีน่ากับบ้านบางโรง
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนา
-พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสะพานหินขึ้นเพื่อเป็นการขยายแหล่งท่องเที่ยวเมืองเก่า โดยมีการพัฒนาระบบการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ


กลุ่ม 2 การเพิ่ม Man made Tourist destination เพื่อสร้างกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว รวมถึงการสร้างแรงจูงใจด้านการลงทุนให้กับโครงการที่เกี่ยวเนื่อง

  1. เสนอให้ทาง BOI ส่งเสริมการลงทุนให้กับนักลงทุน ที่จะลงทุนใน Theme Park ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต
  2. เสนอพัฒนาย่านการท่องเที่ยวใหม่ๆ โดยเฉพาะเมืองเก่ากระทู้ เมืองเก่าสะปำ และเมืองเก่าถลาง ซึ่งสามารถเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้
  3. จัดทำ Transportation เพื่อเชื่อมโยงยังพื้นที่ต่างๆ และ มี App เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการเดินทางในภูเก็ต
  4. การพัฒนาสวนสาธารณะให้มีอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานรับนักท่องเที่ยว เพิ่มอุปกรณ์สำหรับเด็ก ในพื้นที่ต่างๆ


กลุ่ม 3 การสร้างกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว (Event) ที่สามารถเป็นกิจกรรมประจำปี และดึงดูดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มให้เข้ามาท่องเที่ยว และพำนักได้ โดยเน้นกิจกรรมระดับภูมิภาคอาเซียนขึ้นไป
แบ่งออกเป็น 5 Sectors

  1. Culture and lifestyle เช่น
    เทศกาลโคมไฟ
    เทศกาลตรุษจีน
    วิวาห์บาบ๋า
    เมืองวัฒนธรรมกระทู้
    Songkran on the beach
    เทศกาลว่าวนานาชาติ
  2. Nature
    Trakking เขาพระแทว น้ำตกกะทู้
    3.Gastronomy
    Halal festival, local halal, seafood halal,
    Seafood festival
    Vegetarian , Vegan
    Phuket gastronomy
  3. Sports
    X sport
    E sport
    Paddle board
    Surf festival
    Thaiflight
    Laguna International marathon
    Triathlon
    King cup regata
    5.Entertain
    Phuket carnival
    Music festival
    Jazz festival
    Street show


กลุ่ม 4 การเพิ่มศักยภาพให้กับการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม และการเชื่อมต่อแหล่งวัฒนธรรมภายในจังหวัดให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวในเชิงศิลปะและวัฒนธรรมนั้นเป็นการท่องเที่ยวเพื่อที่จะสื่อสารการเล่าเรื่องราว ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งในภูเก็ตนั้น ก็ได้มีตัวอย่างต้นแบบที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้วที่ทุกคนต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือถนนถลาง เมื่อสิบกว่าปีก่อนตัวถนนทางนั้น เป็นถนนที่ขายผ้า ขายเครื่องประดับ และของเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป ซึ่งคนทั่วทั้งภูเก็ตสามารถไปเลือกสารกันได้จากที่ถนนถลาง แต่ ณ ปัจจุบันนี้ นอกจากสิ่งต่างๆ เหล่านั้นแล้วถนนถลางได้กลายมาเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ ของจังหวัดภูเก็ตที่โดดเด่นไปทั่วก็คือ ตัวสถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีสซึ่งเมื่อผสานไปกับความที่ถนนถลาง เป็นถนนสายที่ยังมีชีวิตอยู่จริงๆ ถนนถลางเองนั้นก็เปรียบได้ดังพิพิธภัณฑ์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ ดังนั้น โจทย์ของเราก็คือเราจะสามารถที่จะทำอย่างไร เพื่อที่จะนำสถานที่อื่นๆ ของจังหวัดภูเก็ตขึ้นมาปัดฝุ่นฟื้นฟู เสริมสร้างและส่งเสริมให้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่สำคัญอีก 1 แห่ง ให้นักท่องเที่ยวต่างๆ จะต้องแวะไปเช็คอินไปถ่ายภาพ ไปชิมอาหาร สถานที่ต่างๆ เหล่านั้น
สถานที่แรกที่เราเลือกขึ้นมาก็คือเมืองถลางซึ่งประกอบไปด้วย อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร พิพิธภัณฑ์ถลาง อนุสรณ์ถลางชนะศึก ตลาดทุ่งนาหลวง วัดพระนางสร้าง ซึ่งเดิมเคยเป็นค่ายทหารที่ใช้ระดมพลเข้ารบกับพม่า วัดม่วง เคยใช้เป็นค่ายฝึกซ้อมทหาร รวมไปถึงพื้นที่บริเวณเมืองถลาง พี่ปัจจุบัน ก็ยังได้มีการจัดงานท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทรประจำปีด้วย สถานที่เหล่านี้สามารถที่จะรวมกันเพื่อเป็นการจัด day trip ต่างๆ ขึ้นมา สำหรับนักท่องเที่ยวได้
สถานที่ที่ 2 ก็คือตัวเมืองกะทู้ ซึ่งเป็นเมืองโบราณดั้งเดิมของจังหวัดภูเก็ตซึ่งปัจจุบัน จะมีการจัดงานถนนสายวัฒนธรร ประจำปี ซึ่งถนนสายนี้มีความคล้ายคลึงกับตัวถนนถลางซึ่งเป็นถนนที่ยังมีคนอยู่จริงๆ มีประวัติศาสตร์โบราณมีศาลเจ้าซึ่งสามารถ นำกลับมา ปัดฝุ่นและฟื้นฟู เพื่อให้สามารถที่จะจัดงาน ถนนสายวัฒนธรรมให้กลายเป็นงานประจำเดือนหรือประจำสัปดาห์เพื่อเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยว นอกจากนี้บริเวณกะทู้ยังคงเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ภูเก็ตอีกด้วย ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่น่าสนใจ ซึ่งหากได้รับการพัฒนาปรับปรุงให้กลายเป็นเหมือนพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต เช่น มีการทำเหมืองแร่จำลองเปิดให้นักท่องเที่ยวสามารถทดลองไปร่อนแร่ดีบุก หรือทดลองใช้ปืนฉีดแร่ได้ เป็นต้น
ข้อสุดท้ายนี้ เป็นการเชื่อมโยงมาจากรางวัล gastronomy ที่ภูเก็ตได้รับ เป็นการต่อยอด ให้นักท่องเที่ยว ได้รับทราบว่า การมาภูเก็ตนั้นมีอะไรบ้างที่จะต้องมาแวะทานที่นี่ ยกตัวอย่างเช่นในพื้นที่อ่าวบริเวณสะปำเป็นพื้นที่ เก็บหอยแครงจากธรรมชาติ ซึ่งสามารถที่จะโปรโมทวิถีชุมชนและประมงชายฝั่ง เพื่อนำท่องเที่ยวนักท่องเที่ยวออกไปดูว่าชาวบ้านเก็บหอยแครงกันอย่างไรและสามารถเลือกสรรนำมาทำเป็นอาหารปรุงสดได้เลย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้อาจจะต่อยอดไปยังฟาร์มสับปะรดเมนูสับปะรดภูเก็ตเมนูปลาฉิ้งฉ้าง เป็นต้น
ท้ายนี้ทางเรามองว่า การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม เปรียบเสมือนการสร้างเรื่องราวบอกเล่าสิ่งที่นักท่องเที่ยวนั้นได้มาสัมผัสในพื้นที่ต่างๆ เพื่อที่จะนำประสบการณ์เหล่านั้นและเรื่องราวเหล่านั้นกลับไปเพื่อบอกต่อให้กับเพื่อนๆ ญาติพี่น้อง เพื่อเป็นสิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้มายังภูเก็ตหรือสำหรับคนที่เคยมาเที่ยวซีซันแซนของภูเก็ตแล้วนั้นให้ได้ทราบถึง สถานที่ลอง ต่างๆ อันหลากหลายของภูเก็ต อีกด้วย


กลุ่ม 5 การพัฒนาสินค้าอัตลักษณ์ให้เป็น Product Champion Phuket
คือสัปปะรด
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนา
-ประกวดออกแบบโลโก้และตัวนำโชค (mascot) เพื่อใช้ในการตลาด
-รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสัปปะรดทั้งหมดที่เกี่ยวกับภูเก็ตเพื่อเป็นคลังข้อมูล (Data Archives)
2.ยุทธศาสตร์ส่งเสริมการตลาด
-จัดประกวดข้าวผัดสัปปะรดโลก
-ส่งเสริมให้ร้านอาหารตั้งแต่ท้องถิ่นถึงมิชเชลินใช้สัปปะรดเป็นวัตถุดิบ อย่างน้อย 1 เมนู
-ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงการเกษตร
-ส่งเสริมให้ร้านขายของที่ระลึกใช้โลโก้ มาสคอตตราสัปปะรด

โดยสรุปการระดมสมองของทุกกลุ่มสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต จะนำไปต่อยอดเพื่อประโยชน์ของจังหวัดภูเก็ตต่อไป